วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
กลอนแปด
กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด
๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
คำท้ายวรรคสดับ | กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง |
คำท้ายวรรครับ | กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรครอง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
คำท้ายวรรคส่ง | กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี |
๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)
ข. สัมผัสใน ในแต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี
ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย
กลอนสี่
กลอนสี่ เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ กลอน ๔ ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน ๔ ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ
ตัวอย่างกลอนสี่ ในวรรณคดีไทยที่พบมี ๒ แบบ คือ
กลอน ๔ แบบที่ ๑
คณะ กลอน ๔ แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ ตามผัง
O O O O | O O O O | |
O O O O | O O O O |
สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรค
ที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป
กลอน ๔ แบบที่ ๒
คณะ กลอน ๔ แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๔ คำ ตามผัง
O O O O | O O O O | |
O O O O | O O O O |
O O O O | O O O O | |
O O O O | O O O O |
สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป
บทกลอนคือ...?
กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัส ไม่มีบังคับเอกโทและครุลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์(เป็นตัวหนังสือ) และวรรณกรรมมุขปาฐะ(เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้านเช่น บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)